เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

ความประพฤติเป็นผู้สงัด

บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ 4 นั้น พรหมจรรย์ในการประพฤติสงัดของเราดังนี้
คือ เรานั้นอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อใด เราได้พบคนเลี้ยงโค คนเลี้ยง
ปศุสัตว์ คนหาบหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า1 เมื่อนั้น เราเดินหนีจาก
ป่าหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง จากป่าทึบแห่งหนึ่งไปยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่ม
แห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง จากที่ดอนแห่งหนึ่งไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเราคิดว่า 'คนเหล่านั้นอย่าได้พบเรา และเราก็อย่าได้พบคน
เหล่านั้นเลย'
สัตว์ป่าเห็นพวกมนุษย์แล้วก็เตลิดหนีจากป่าแห่งหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง
จากป่าทึบแห่งหนึ่งไปยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่มแห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง
จากที่ดอนแห่งหนึ่งไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใด
เราได้พบคนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนหาบหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า
เมื่อนั้น เราเดินหนี จากป่าแห่งหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง จากป่าทึบแห่งหนึ่งไป
ยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่มแห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง จากที่ดอนแห่งหนึ่ง
ไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราคิดว่า 'คนเหล่านั้นอย่าได้
พบเราเลย และเราก็อย่าได้พบคนเหล่านั้นเลย'
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการประพฤติเป็นผู้สงัดของเรา
เรานั้นคลานเข้าไปในคอกที่ฝูงโคออกไปแล้ว ไม่มีคนเลี้ยงโคอยู่ กินมูลโคของ
ลูกโคตัวอ่อนที่ยังดื่มนม และกินปัสสาวะ อุจจาระของตนเองนั่นแลตลอดเวลา
ที่ปัสสาวะ และอุจจาระยังไม่สิ้นไป
นี้เป็นพรหมจรรย์ในโภชนมหาวิกัฏ2ของเรา
[157] เรานั้นเข้าอาศัยแนวป่าน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ที่ว่าน่ากลัวนั้น
เพราะเป็นแนวป่าที่น่าสะพรึงกลัว ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังมีราคะเข้าไปยังแนวป่านั้น

เชิงอรรถ :
1 คนทำงานในป่า หมายถึงคนหาฟืน, รากไม้ และผลไม้ในป่าเป็นต้น (ม.มู.อ. 1/156/368)
2 โภชนมหาวิกัฏ หมายถึงอาหารที่สกปรก, ไม่สะอาด คือผิดปกติอย่างมาก (ม.มู.อ. 1/156/368,
ม.มู.ฏีกา 2/156/44)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :160 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

โดยมากย่อมขนพองสยองเกล้า เรานั้นอยู่ที่กลางแจ้งตลอดทั้งคืน ในราตรีที่
หนาวเหน็บ ซึ่งอยู่ระหว่างเดือน 3 ต่อเดือน 4 เป็นช่วงเวลาที่หิมะตกเห็นปานนั้น
(แต่) อยู่ในแนวป่าในเวลากลางวัน ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เราอยู่ในที่แจ้งใน
เวลากลางวัน แต่อยู่ในแนวป่าในเวลากลางคืน คาถาน่าอัศจรรย์นี้เราไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ปรากฏแก่เราว่า
'มุนีผู้เสาะแสวงหาความหมดจด
อาบแดด อาบน้ำค้าง เปลือยกาย
ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียว ในป่าที่น่ากลัว'
เรานอนแอบอิงกระดูกผีในป่าช้า พวกเด็กเลี้ยงโค เข้าใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลาย
รดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง โปรยฝุ่นลงบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง แต่เราไม่รู้สึก
เลยว่า มีอกุศลจิตเกิดขึ้นในเด็กเหล่านั้น
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา

ลัทธิที่ว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะอาหาร

[158] มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า 'ความ
บริสุทธิ์มีได้เพราะอาหาร' พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า 'พวกเราดำรงชีวิตอยู่ด้วยผล
พุทรา' พวกเขาเคี้ยวกินพุทราผลหนึ่งบ้าง พุทราป่นบ้าง ดื่มน้ำผลพุทราบ้าง
บริโภคผลพุทราที่แปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ บ้าง แต่เราก็รู้ตัวว่า 'กินผล
พุทราผลเดียวเท่านั้นเป็นอาหาร' เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า 'สมัยนั้น ผลพุทราคงจะ
ใหญ่เป็นแน่' แต่เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น ผลพุทราก็มีขนาดเท่าในบัดนี้
เมื่อเรากินพุทราผลเดียวเท่านั้นเป็นอาหาร ร่างกายก็ซูบผอมเป็นอย่างมาก อวัยวะ
น้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก หรือมีข้อดำ เพราะมีอาหารน้อย
นั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ กระดูกสันหลังขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือน
เถาสะบ้า กระดูกซี่โครงเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลง เหมือนกลอนศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น
ดวงตากลวงลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำที่ลึกฉะนั้น หนังศีรษะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :161 }