เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

'ท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านก็ยัง
ไม่รู้' เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว
แกล้วกล้าอยู่
2. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า 'สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุในธรรมนั้นว่า
'ท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านก็ยัง
ไม่สิ้นไป' เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว
แกล้วกล้าอยู่
3. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า 'สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุในธรรมนั้นว่า
'อันตรายิกธรรม1ที่ท่านกล่าว ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้เสพได้จริง'
เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้ว
กล้าอยู่
4. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า 'สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุในธรรมนั้นว่า
'ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่สำเร็จ
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตามได้จริง' เราเมื่อไม่เห็นนิมิต
แม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
สารีบุตร เวสารัชชญาณ 4 ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
บุคคลใดพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า 'สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง' บุคคลนั้น

เชิงอรรถ :
1 อันตรายิกธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบรรลุมรรคผล ได้แก่ อาบัติ 7 กอง ซึ่งเป็นโทษ
สำหรับปรับภิกษุผู้ล่วงละเมิด โดยที่สุดแม้ทุกกฏหรือทุพภาสิต ในที่นี้หมายเอาเมถุนธรรม (ม.ม.ูอ.
1/150/354,องฺ.จตุกฺก.อ. 2/8/286)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :149 }