เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

วรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพ
นั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล
มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจาก
ภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้' ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ การที่ตถาคตระลึก
ชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
9. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า 'หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความ
เห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นชอบ พวก
เขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ตถาคตเห็นหมู่
สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :147 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

10. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคต
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 10 ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้ว
เป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
[149] สารีบุตร บุคคลใดแลพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า 'สมณ-
โคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณ-
โคดมแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้ง
ได้เอง' บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรง
อยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วย
สมาธิ สมบูรณ์ด้วยปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล แม้ฉันใด เรากล่าว
ข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น
ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

เวสารัชชญาณ1 4

[150] สารีบุตร เวสารัชชญาณ(ญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า) 4 ประการนี้
ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญา(ยืนยัน) ฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศ
พรหมจักรในบริษัท
เวสารัชชญาณของตถาคต 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เราไม่เห็นนิมิต2นี้ว่า 'สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหต3ในธรรมนั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก.(แปล) 21/8/13-14
2 นิมิต ในที่นี้หมายถึงทั้งบุคคลและธรรมที่เป็นเหตุสนับสนุนการทักท้วง (ม.มู.อ. 1/150/354 , องฺ.จตุกฺก.อ.
2/8/285, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา 2/8/284)
3 คำพูดที่มีเหตุ หมายถึงคำพูดที่อ้างอิงพยานบุคคล พยานหลักฐานมาเป็นเหตุสนับสนุนให้การทักท้วง
สำเร็จประโยชน์น่าเชื่อถือ (ม.มู.อ. 1/150/354, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/8285, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา 2/8/284)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :148 }