เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

2. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
วิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดย
ฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศ
พรหมจักร ในบริษัท
3. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง1ตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลัง
ของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ
สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
4. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด2 มีธาตุที่แตกต่างกัน3 ตามความ
เป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่าง
กันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
5. ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
6. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้า
และอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์
เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตาม

เชิงอรรถ :
1 ภูมิทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงคติที่ควรไป(คติ) และคติที่ไม่ควรไป(อคติ) (ม.มู.อ. 1/148/350, องฺ.ทสก.อ.
3/21/328)
2 ธาตุหลายชนิด ในที่นี้หมายถึงธาตุ 18 มีจักขุธาตุเป็นต้น (ม.มู.อ. 1/148/350, องฺ.เอกก.อ. 1/577/473)
และดู อภิ.วิ.(แปล) 35/185/147. วิสุทฺธิ. 2/517/129.
3 ธาตุที่แตกต่างกัน หมายถึงธาตุที่มีลักษณะต่างกัน (ม.มู.อ. 1/148/350, องฺ.ทสก.อ. 3/21/329,
อภิ.วิ.อ. 760/429)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :145 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

ความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญา
ฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
7. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง1 ความผ่องแผ้ว2 แห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ3 ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง
ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง นี้
เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
8. ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง
3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง
30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง 1,000
ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป4 เป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัป5เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า 'ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มี

เชิงอรรถ :
1 ความเศร้าหมอง หมายถึงธรรมฝ่ายเสื่อม ได้แก่ กาม วิตก วิจาร และปีติ เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรคต่อการ
เจริญฌานตามลำดับขั้นของผู้ที่มีฌานยังไม่คล่องแคล่ว (ม.มู.อ. 1/148/351, องฺ.ทสก.อ. 3/21/329,
องฺ.ทสก.ฏีกา 3/21/392) และดู องฺ.นวก. (แปล) 23/41/523-532 ประกอบ
2 ความผ่องแผ้ว หมายถึงธรรมฝ่ายเจริญ ได้แก่ การสงัดจากกาม การระงับวิตกวิจาร การจางคลายไปแห่ง
ปีติเป็นต้น ซึ่งเป็นคุณค่าต่อการเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไปของผู้ที่มีฌานคล่องแคล่ว (ม.มู.อ. 1/148/351,
องฺ.ทสก.อ. 3/21/329, องฺ.ทสก.ฏีกา 3/21/392) และดู องฺ.นวก. (แปล) 23/41/523-532 ประกอบ
3 ในคำว่า "ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ" นี้ ฌาน หมายถึงฌาน 4 (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌาน) (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ 8 (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) และดู
องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/119/422 ประกอบ สมาธิ หมายถึงสมาธิ 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มี
วิตกและวิจาร) อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกาวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มี
ทั้งวิตกและวิจาร) (ขุ.ป. 31/43/50) สมาบัติ หมายถึงอนุปุพพสมาบัติ 9 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4
และสัญญาเวทยิตนิโรธ 1 (ม.มู.อ. 1/148/351, องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) และดู องฺ.นวก. (แปล)
23/32/495, อภิ.วิ.(แปล) 35/828/529-532 ประกอบ
4-5 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 52 (ภยเภรวสูตร) หน้า 42 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :146 }