เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

กำลังของพระตถาคต 10 ประการ

[148] สารีบุตร กำลังของตถาคต1 10 ประการนี้ที่ตถาคตมีแล้ว เป็น
เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ2 บันลือสีหนาท3 ประกาศพรหมจักร4ในบริษัท5
กำลังของตถาคต 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตถาคตรู้ชัดฐานะ6 โดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะใน
โลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ
และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/64/579, องฺ.ทสก.(แปล) 24/21/43-47.
2 ฐานะที่องอาจ (อาสภะ) อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงฐานะที่ประเสริฐที่สุด ที่สูงสุด หรือฐานะของ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในปางก่อน
อนึ่ง คำว่า อาสภะ มาจากคำว่า อุสภะ เป็นชื่อโคจ่าฝูงของโคจำนวนมากตั้ง 100 ตัว 1,000 ตัว 100
คอก 1,000 คอก มีสีขาว น่าดู มีกำลังสามารถนำภาระหนักยิ่งไปได้ ยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง 4 ไม่หวั่นไหว
ต่อเสียงฟ้าร้องตั้ง 100 ครั้ง พระตถาคตเปรียบเหมือนโคอุสภะ คือ ประทับยืนข่มบริษัททั้ง 8 ได้อย่าง
มั่นคงด้วยพระบาท (ฐานะ) คือ เวสารัชชญาณ 4 ประการ ไม่มีปัจจามิตรใดในโลกและเทวโลกที่สามารถ
ทำให้พระองค์หวั่นไหวได้ (ม.มู.อ. 1/148/347, องฺ.ทสก.อ. 3/21/326)
3 บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึงตรัสพระวาจาด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะ
ทรงมั่นพระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ม.มู.อ. 1/148/348,ที.สี.ฏีกา 1/403/454)
4 พรหมจักร หมายถึงธรรมจักรอันประเสริฐ ยอดเยี่ยม บริสุทธิ์ มี 2 ประการ คือ (1) ปฏิเวธญาณ ได้แก่
ญาณระดับโลกุตตระ แสดงถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า (2) เทสนาญาณ ได้แก่ ญาณระดับโลกิยะ
แสดงถึงพระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า ญาณทั้ง 2 นี้ชื่อว่าโอรสญาณ(ญาณส่วนพระองค์) มีเฉพาะ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่มีแก่คนทั่วไป (ม.มู.อ. 1/148/348,องฺ.ทสก.อ. 3/21/327)
5 บริษัท หมายถึงหมู่, คณะ, ที่ประชุม ในที่นี้หมายถึงบริษัท 8 คือ (1) ขัตติยบริษัท (2) พราหมณบริษัท
(3) คหบดีบริษัท (4) สมณบริษัท (5) จาตุมหาราชบริษัท (6) ดาวดึงสบริษัท (สวรรค์ชั้นที่ 2 แห่งสวรรค์
6 ชั้น) (7) มารบริษัท (8) พรหมบริษัท (ม.มู.อ. 1/148/348, ที.สี.อ. 403/297, องฺ.ทสก.อ.
3/21/327)
6 ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุและปัจจัย ที่เรียกว่า "ฐานะ" เพราะเป็นแดนตั้งขึ้น เกิดขึ้น และเป็นไปแห่งผล
(ม.มู.อ. 1/148/349, องฺ.ทสก.อ. 3/21/328)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :144 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

2. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
วิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดย
ฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศ
พรหมจักร ในบริษัท
3. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง1ตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลัง
ของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ
สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
4. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด2 มีธาตุที่แตกต่างกัน3 ตามความ
เป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่าง
กันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
5. ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
6. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้า
และอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์
เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตาม

เชิงอรรถ :
1 ภูมิทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงคติที่ควรไป(คติ) และคติที่ไม่ควรไป(อคติ) (ม.มู.อ. 1/148/350, องฺ.ทสก.อ.
3/21/328)
2 ธาตุหลายชนิด ในที่นี้หมายถึงธาตุ 18 มีจักขุธาตุเป็นต้น (ม.มู.อ. 1/148/350, องฺ.เอกก.อ. 1/577/473)
และดู อภิ.วิ.(แปล) 35/185/147. วิสุทฺธิ. 2/517/129.
3 ธาตุที่แตกต่างกัน หมายถึงธาตุที่มีลักษณะต่างกัน (ม.มู.อ. 1/148/350, องฺ.ทสก.อ. 3/21/329,
อภิ.วิ.อ. 760/429)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :145 }