เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

กล่าวในชุมชน ณ กรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า "สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอัน
สามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความ
ตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ธรรมที่สมณโคดมแสดงเพื่อ
ประโยชน์แก่บุคคล ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตาม
ธรรมนั้น"
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลีแล้ว กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ โอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่าสุนักขัตตะลาสิกขาจากพระธรรมวินัยนี้ได้
ไม่นาน เธอได้กล่าวในชุมชน ณ กรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า 'สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ธรรมที่
สมณโคดมแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคล ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
สำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น"
[147] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "สารีบุตร โอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่า
สุนักขัตตะเป็นโมฆบุรุษ มักโกรธ เธอกล่าววาจานั้นเพราะความโกรธ สุนักขัตตะ
โมฆบุรุษคิดว่า 'จักกล่าวติเตียน' แต่กลับกล่าวสรรเสริญคุณของตถาคตอยู่นั่นแล
แท้จริงข้อที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'ธรรมที่สมณโคดมแสดงเพื่อประโยชน์
แก่บุคคล ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น'
เป็นการกล่าวสรรเสริญคุณของตถาคต
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า 'แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :142 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค'
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า 'แม้เพราะเหตุนี้ พระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุ
ฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน
แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
นั่งขัดสมาธิ เหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้'
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า 'แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นทรงสดับเสียง 2 ชนิด คือ (1) เสียงทิพย์ (2) เสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์'
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า 'แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงกำหนดรู้ใจของสัตว์และบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมี
ราคะ ก็รู้ว่า 'จิตมีราคะ' หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า 'จิตปราศจากราคะ' จิตมี
โทสะก็รู้ว่า 'จิตมีโทสะ' หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า 'จิตปราศจากโทสะ' จิตมีโมหะ
ก็รู้ว่า 'จิตมีโมหะ' หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า 'จิตปราศจากโมหะ' จิตหดหู่ก็รู้ว่า
'จิตหดหู่' หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า 'จิตฟุ้งซ่าน' จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่า 'จิตเป็นมหัคคตะ'
หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า 'จิตไม่เป็นมหัคคตะ' จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า 'จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า' หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า 'จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า' จิตเป็นสมาธิ
ก็รู้ว่า 'จิตเป็นสมาธิ' หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า 'จิตไม่เป็นสมาธิ' จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า
'จิตหลุดพ้น' หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า 'จิตไม่หลุดพ้น'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :143 }