เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 1. จูฬสีหนาทสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีตัณหา
มีอุปาทาน เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง เป็นผู้ยินดียินร้าย พอใจในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรากล่าวว่า 'พวกเขาไม่พ้นจากชาติ(ความเกิด)
ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ไม่พ้น
จากทุกข์' สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดทิฏฐิ 2 ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจาก
ตัณหา ไม่มีอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เป็นผู้พอใจในธรรมอัน
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรากล่าวว่า 'พวกเขา
พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พ้นจากทุกข์'

อุปาทาน 4

[143] ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน 4 ประการนี้
อุปาทาน 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
2. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ)
3. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและวัตร)
4. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญญาลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง1 แต่พวกเขา
ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติ
ความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้

เชิงอรรถ :
1 ปฏิญญาลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง หมายถึงปฏิญญาว่า 'เราทั้งหมดกล่าวความรอบรู้ คือความ
ข้ามพ้นอุปาทานทั้งสิ้น' (ม.มู.อ. 1/143/332)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :137 }