เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 1. จูฬสีหนาทสูตร

เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้รู้แจ้ง
หรือผู้ไม่รู้แจ้ง' พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบอย่างถูกต้องก็จะตอบอย่างนี้ว่า
'จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้รู้แจ้ง มิใช่สำหรับผู้ไม่รู้แจ้ง'
เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้
ยินดียินร้าย หรือผู้ไม่ยินดีไม่ยินร้าย' พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบอย่าง
ถูกต้องก็จะตอบอย่างนี้ว่า 'จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้ไม่ยินดีไม่ยินร้าย
มิใช่สำหรับผู้ยินดียินร้าย'
เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้พอใจ
ในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า หรือผู้พอใจ
ในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า' พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบอย่างถูกต้องก็จะตอบอย่างนี้ว่า 'จุดมุ่งหมายนั้น
เป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้พอใจในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมอัน
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่สำหรับผู้พอใจในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรม
อันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า'

ทิฏฐิ 2

[142] ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ 2 ประการนี้ คือ (1) ภวทิฏฐิ1 (2) วิภวทิฏฐิ2
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งยึดติด เข้าถึง เกาะติดภวทิฏฐิ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฏฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งยึดติด เข้าถึง เกาะติดวิภวทิฏฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
เป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฏฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดทิฏฐิ 2 ประการนี้ตามความเป็นจริง

เชิงอรรถ :
1 ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (ม.มู.อ. 1/142/330)
2 วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ (ม.มู.อ. 1/142/330)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :136 }