เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 1. จูฬสีหนาทสูตร

2. สีหนาทวรรค
หมวดว่าด้วยการบันลือสีหนาท
1. จูฬสีหนาทสูตร
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท สูตรเล็ก
สมณะ 4 จำพวก

[139] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ 1 มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ 2 มีอยู่
ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ 3 มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ 41 ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้
ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง เธอทั้งหลายจงบันลือ
สีหนาท2โดยชอบอย่างนี้แล
[140] เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก(เจ้าลัทธิอื่น)ในโลกนี้ จะพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า 'อะไรเล่าเป็นความมั่นใจของพวกท่าน อะไรเป็นพลังใจของพวกท่าน

เชิงอรรถ :
1 สมณะที่ 1 หมายถึงพระโสดาบันผู้หมดสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า สมณะที่ 2 หมายถึงพระสกทาคามี ผู้หมดสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ
มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง กลับมาสู่โลกมนุษย์คราวเดียวแล้วจะตรัสรู้ได้ สมณะที่ 3 หมายถึงพระ-
อนาคามี ผู้หมดสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ เกิดในภูมิชั้นสุทธาวาสแล้ว จะนิพพานในภูมินั้น สมณะ
ที่ 4 หมายถึงพระอรหันต์ ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน (ม.มู.อ. 1/139/323-324)
2 บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึงการประกาศอย่างอาจหาญของภิกษุผู้กล่าวว่า "สมณะเหล่านี้มีในธรรมวินัย
นี้เท่านั้น" ชื่อว่าการบันลือที่ประเสริฐคือการบันลือสีหนาทที่ไม่มีความเกรงกลัว ไม่ติดขัด เพราะเจ้าลัทธิ
อื่นไม่สามารถคัดค้านได้ (ม.มู.อ. 1/139/326)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :133 }