เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

แต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า 'ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข' เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[136] ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็น
ธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรม
เป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่
หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า 'ธรรมมีอยู่' ก็เพียงเพื่ออาศัย
เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย(ตัณหาและทิฏฐิ)อยู่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ
ในโลก ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ 4 อยู่ อย่างนี้แล

หมวดสัจจะ จบ
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จบ

อานิสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน 4

[137] ภิกษุทั้งหลาย
1. บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 7 ปี พึงหวังผลอย่าง 1 ใน
2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลือ
อยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :128 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

2. 7 ปี จงยกไว้1 บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 6 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
3. 6 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 5 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
4. 5 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 4 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
5. 4 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 3 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
6. 3 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 2 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
7. 2 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 1 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
8. 1 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 7 เดือน พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

เชิงอรรถ :
1 7 ปี จงยกไว้ หมายถึงอย่าว่าแต่จะเจริญสติปัฏฐานใช้ระยะเวลา 7 ปีเลย แม้เจริญเพียง 6 ปี ลดลง
มาตามลำดับถึง 7 วัน ก็สามารถบรรลุอรหัตตผล หรืออนาคามิผลได้ (ที.ม.อ. 2/404/422, ม.มู.อ.
1/137/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :129 }