เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น และความเจริญ
บริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
2. เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ฯลฯ
3. เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ฯลฯ
4. เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ฯลฯ
5. เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ฯลฯ
6. เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ฯลฯ
7. เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า 'อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภายในของเรามีอยู่' หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในไม่มี ก็
รู้ชัดว่า 'อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในของเราไม่มี' การเกิดขึ้นแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
และความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วมีได้
ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น
ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็น
เหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่
หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า 'ธรรมมีอยู่' ก็เพียงเพื่ออาศัย
เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย(ตัณหาและทิฏฐิ)อยู่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ
ในโลก ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ 7 ประการอยู่
อย่างนี้แล

หมวดโพชฌงค์ จบ
ภาณวารที่ 1 จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

หมวดสัจจะ

[119] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย คือ อริยสัจ 4 อยู่
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ 4 อยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'นี้ทุกข์'
2. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'นี้ทุกขสมุทัย'
3. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'นี้ทุกขนิโรธ'
4. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา'

ทุกขสัจจนิทเทส1

[120] ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ
อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
[121] ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ
[122] ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/190-205/163-173

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :118 }