เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

4. เมื่อเสวยสุขเวทนาที่มีอามิส1 ก็รู้ชัดว่า 'เราเสวยสุขเวทนาที่มี
อามิส'
5. เมื่อเสวยสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า 'เราเสวยสุขเวทนาที่ไม่
มีอามิส'
6. เมื่อเสวยทุกขเวทนาที่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า 'เราเสวยทุกขเวทนาที่มี
อามิส'
7. เมื่อเสวยทุกขเวทนาที่ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า 'เราเสวยทุกขเวทนา
ที่ไม่มีอามิส'
8. เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า 'เราเสวยอทุกขม-
สุขเวทนาที่มีอามิส'
9. เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า 'เราเสวย
อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส'
ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายใน2อยู่ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอก3อยู่ หรือพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิด
ทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่
หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า 'เวทนามีอยู่' ก็เพียงเพื่ออาศัย
เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย(ตัณหาและทิฏฐิ)อยู่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ
ในโลก ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ อย่างนี้แล

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

[114] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตมีราคะ'
2. จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตปราศจากราคะ'
3. จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตมีโทสะ'
4. จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตปราศจากโทสะ'
5. จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตมีโมหะ'
6. จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตปราศจากโมหะ'
7. จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า 'จิตหดหู่'
8. จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า 'จิตฟุ้งซ่าน'
9. จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตเป็นมหัคคตะ'
10. จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่เป็นมหัคคตะ'
11. จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า 'จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า'
12. จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า'
13. จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า 'จิตเป็นสมาธิ'
14. จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่เป็นสมาธิ'
15. จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ชัดว่า 'จิตหลุดพ้นแล้ว'
16. จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่หลุดพ้น'

ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอก
อยู่ หรือพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็น
เหตุเกิดในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่
หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า 'จิตมีอยู่' ก็เพียงเพื่ออาศัย
เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย(ตัณหาและทิฏฐิ)อยู่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ
ในโลก ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างนี้แล

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จบ