เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 9. สัมมาทิฏฐิสูตร

อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ___2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา___4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ ___6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ___8. สัมมาสมาธิ

นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะ
เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทา
ปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัยและมานานุสัยที่ว่า 'เป็นเรา' โดยประการทั้งปวง
ละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้นแล้วเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้เอง
แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้"
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล

สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ 9 จบ

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใน 6 บทที่กล่าวว่า เป็นอย่างไร
คือ ทุกข์ ชราและมรณะ อุปาทาน อายตนะ 6 นามรูป วิญญาณ
ใน 4 บทที่กล่าวว่า เป็นอย่างไร
คือ ชาติ ตัณหา เวทนา อวิชชาเป็นที่ 4
ใน 5 บท ที่กล่าวว่า เป็นอย่างไร
คือ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ 5
6 ประการ เป็นอย่างไร ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
4 ประการ เป็นอย่างไร ข้าพเจ้าก็กล่าวแล้ว
5 ประการ เป็นอย่างไร ข้าพเจ้าก็กล่าวแล้ว
และบทแห่งสังขารทั้งปวงมี 15 บท ดังกล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :100 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

10. มหาสติปัฏฐานสูตร1
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน สูตรใหญ่

[105] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ
แคว้นกุรุ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า

อุทเทส

[106] "ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียว2 เพื่อความบริสุทธิ์ของ
เหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม3
เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน4 4 ประการ
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

เชิงอรรถ :
1 ดูความพิสดารใน ที.ม. (แปล) 10/372-405/301-340
2 ทางสายเดียว ในที่นี้มีความหมาย 4 นัย คือ (1) ทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะไปประพฤติ
ธรรมอยู่แต่ผู้เดียว (2) ทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้เกิดขึ้น เป็นทางของบุคคลผู้เดียว คือ
พระผู้มีพระภาค (3) ข้อปฏิบัติในศาสนาเดียว คือพระพุทธศาสนา (4) ทางดำเนินไปสู่จุดหมายเดียว
คือ พระนิพพาน (ที.ม.อ. 2/373/359, ม.มู.อ. 1/106/244)
3 ญายธรรม หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. 2/214/197, ม.มู.อ. 1/106/251)
4 สติปัฏฐาน แปลว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือการปฏิบัติมีสติเป็นประธาน (ที.ม.อ. 2/373/368,
ม.มู.อ. 1/106/253, อภิ.วิ.(แปล) 35/355-389/306-327)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :101 }