เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [4. อัคคัญญสูตร] แวดวงแพศย์

ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกันและนิคมที่ใกล้เคียงกัน พากันทำคัมภีร์อยู่
มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขาแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้บรรลุ
ฌานนั้นในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกันและ
นิคมที่ใกล้เคียงกัน พากันทำคัมภีร์อยู่ ชนเหล่านี้ไม่บำเพ็ญฌาน’ เพราะชน
เหล่านี้ ไม่บำเพ็ญฌาน ในบัดนี้ คำที่ 3 ว่า ‘อัชฌายกา อัชฌายกา’ จึงเกิดขึ้น
สมัยนั้น คำว่า ‘อัชฌายกา’ นั้นถือกันว่าเป็นคำเลว แต่ในสมัยนี้ คำว่า ‘อัชฌายกา’
นั้นถือกันว่าประเสริฐ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงพราหมณ์นั้นขึ้นแก่
สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มี
แก่สัตว์ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณ
ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้ง
ในโลกนี้และโลกหน้า

แวดวงแพศย์

[133] วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น บางพวกยึดมั่นเมถุน-
ธรรม1แล้วแยกประกอบการงานที่แตกต่างออกไป2 เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นยึดมั่น
เมถุนธรรม แล้วแยกประกอบการงานที่แตกต่างออกไป ฉะนั้น คำว่า ‘เวสสา
เวสสา’ จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงแพศย์นั้นขึ้นแก่สัตว์
เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์
ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้อง
กับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า

เชิงอรรถ :
1 เมถุนธรรม แปลว่า ธรรมแห่งการดำเนินชีวิตของคนคู่ หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน
มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง (ดู วิ.
มหา. (แปล) 1/55/42, องฺ.ทสก. (แปล) 24/75/164)
2 การงานที่แตกต่างออกไป ในที่นี้หมายถึงการงานที่ทำให้มีชื่อเสียงโดดเด่น เช่น โคปกกรรม (การรักษา
ความปลอดภัย) พาณิชยกรรม (การค้าขาย) (ที.ปา.อ. 133/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :98 }