เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [4. อัคคัญญสูตร] ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ 4

ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับ
ว่ามีโทษ ไม่ควรประพฤติ นับว่าไม่ควรประพฤติ ไม่สามารถเป็น
อริยธรรม นับว่าไม่สามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ
ที่วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจนในศูทรบาง
คนในโลกนี้
วาเสฏฐะและภารทวาชะ
1. แม้กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้น
ขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เห็นชอบด้วย
ประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มี
โทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถ
เป็นอริยธรรม นับว่าสามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว1 มี
วิบากขาว2 ที่วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่าง
ชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
2. แม้พราหมณ์ ...
3. แม้แพศย์ ...
4. แม้ศูทรบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เห็นชอบ ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ
นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถเป็น
อริยธรรม นับว่าสามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบาก
ขาว ที่วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจนใน
ศูทรบางคนในโลกนี้

เชิงอรรถ :
1 ธรรมขาว ในที่นี้หมายถึงธรรมที่บริสุทธิ์เพราะปราศจากกิเลส (ที.ปา.อ. 115/47)
2 มีวิบากขาว ในที่นี้หมายถึงมีผลเป็นสุข (ที.ปา.อ. 115/48)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :86 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [4. อัคคัญญสูตร] ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ 4

[116] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อวรรณะ 4 เหล่านี้ รวมกันเป็นบุคคล
2 จำพวก คือ
1. พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมดำที่วิญญูชนติเตียนจำพวกหนึ่ง
2. พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมขาวที่วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่ง
ในเรื่องนี้ พวกพราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์
เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส
เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็น
ทายาทของพระพรหม’ วิญญูชนทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของพราหมณ์เหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บรรดาวรรณะ 4 เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว1 ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว2 ปลงภาระได้แล้ว3 บรรลุประโยชน์
ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นเรียกได้ว่า
เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายในวรรณะ 4 เหล่านั้น โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม
เพราะธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[117] วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยเหตุผลนี้ เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า
‘ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า’
วาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า ‘พระสมณโคดม
เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลที่เท่าเทียมกัน4’ ดังนี้ ก็พวกศากยะยังต้องตามเสด็จ
พระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ตลอดเวลา และพวกเจ้าศากยะยังต้องกระทำการนอบน้อม

เชิงอรรถ :
1 อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงได้เป็นพระอเสขะ ส่วนพระเสขะ 7 จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่า
กำลังประพฤติพรหมจรรย์ (ที.ปา.อ. 116/48)
2 ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว หมายถึงทำกิจมีความกำหนดรู้ เป็นต้นในอริยสัจ 4 ด้วยมรรค 4 (ที.ปา.อ.
116/48)
3 ปลงภาระได้แล้ว หมายถึงปลงกิเลสภาระ(ภาระคือกิเลส) ขันธภาระ(ภาระคือร่างกาย) และอภิสังขารภาระ
(ภาระคืออภิสังขาร) ลงแล้ว (ที.ปา.อ. 116/48)
4 เท่าเทียมกัน เป็นคำเปรียบเทียบที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงใช้เพื่อยกย่องศากยตระกูลว่าเสมอกับ
ราชตระกูลของพระองค์ (ที.ปา.อ. 117/49, ที.ปา.ฏีกา 117/49)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :87 }