เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะเป็นต้นของภิกษุ

4. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
เพราะเจริญ ทำอิทธิบาท 4 ประการนี้ให้มาก เมื่อมุ่งหวัง เธอจะพึงดำรงอยู่
ได้ 1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ
ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบ
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ
ในเรื่องความสุขของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
2. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ...
3. บรรลุตติยฌาน ...
4. บรรลุจตุตถฌาน ...
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องความสุขของภิกษุ
ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :81 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะเป็นต้นของภิกษุ

2. มีกรุณาจิต ...
3. มีมุทิตาจิต ...
4. มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4
... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องโภคะของภิกษุ
ในเรื่องพละของภิกษุ มีคำอธิบาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ1 ปัญญาวิมุตติ2 อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นคำอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ
เราไม่เล็งเห็นกำลังอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมาร3
นี้เลย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้อย่างนี้ก็เพราะสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

จักกวัตติสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึก หรือด้วยกำลัง
สมาธิ เช่น สมาบัติ 8 เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (ที.สี.อ. 373/281)
2 ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้
สำเร็จอรหัตตผล และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป (ที.สี.อ. 373/
281)
3 กำลังของมาร ในที่นี้หมายถึงกำลังของเทวปุตตมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร (ที.ปา.อ. 110/43)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :82 }