เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะ เป็นต้น

ชายกับพี่สาวน้องสาวก็ดี พี่สาวน้องสาวกับพี่ชายน้องชายก็ดี จักเกิดความอาฆาต
อย่างแรงกล้า ความพยาบาทอย่างแรงกล้า ความคิดร้ายแห่งใจอย่างแรงกล้า
ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า ฉันนั้น
[104] ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี จักมีสัตถันตรกัป1
ตลอด 7 วัน มนุษย์เหล่านั้นจักเกิดความเข้าใจในกันและกันว่าเป็นเนื้อ ศัสตรา
ทั้งหลายอันคมกริบจักปรากฏในมือของพวกเขา พวกเขาจักใช้ศัสตราอันคมกริบ
ฆ่ากันเองด้วยเข้าใจว่า ‘นี้เป็นเนื้อ นี้เป็นเนื้อ’
ครั้งนั้น มนุษย์เหล่านั้นบางพวก มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พวกเราอย่าฆ่าใคร ๆ
และใคร ๆ ก็อย่าฆ่าพวกเรา ทางที่ดี เราควรเข้าไปตามป่าหญ้า สุมทุมพุ่มไม้
ป่าไม้ เกาะกลางแม่น้ำ หรือซอกเขา ใช้รากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีพ’
พวกเขาจึงพากันเข้าไปตามป่าหญ้า สุมทุมพุ่มไม้ ป่าไม้ เกาะกลางแม่น้ำหรือ
ซอกเขา ใช้รากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีพอยู่ตลอด 7 วัน เมื่อล่วงไป
7 วัน พวกเขาพากันออกจากป่าหญ้า สุมทุมพุ่มไม้ ป่าไม้ เกาะกลางแม่น้ำ หรือ
ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน ขับร้องปลอบใจกันในที่ประชุมว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่’

เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะ เป็นต้น

[105] ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น มนุษย์เหล่านั้นจักปรึกษากันอย่างนี้ว่า
‘พวกเราสูญสิ้นญาติมากมายเช่นนี้ เพราะยึดถืออกุศลธรรมเป็นเหตุ ทางที่ดี พวกเรา
ควรทำกุศล ควรทำกุศลอย่างไรดี ทางที่ดี พวกเราควรงดเว้นจากปาณาติบาต(การ
ฆ่าสัตว์) ควรสมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้’ แล้วจึงพากันงดเว้นจากปาณาติบาต

เชิงอรรถ :
1 สัตถันตรกัป แปลว่าอันตรกัปพินาศเพราะศัสตรา เป็นชื่ออันตรกัป (กัประหว่าง) 1 ใน 3 อันตรกัป ซึ่ง
เป็นกัปย่อยของสังวัฎฎกัป(กัปเสื่อม) มักเรียกกันสั้น ๆ ว่ากัปพินาศ อีก 2 กัป คือ (1) ทุพภิกขันตรกัป
(กัปพินาศเพราะข้าวยากหมากแพง) (2) โรคันขันตรกัป (กัปพินาศเพราะโรค) คำว่า กัป ในที่นี้เป็นคำย่อของ
คำว่า “กัปพินาศ” (กปฺปวินาส) (ที.ปา.อ. 104/39, ที.ปา.ฎีกา 104/38)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :75 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะ เป็นต้น

สมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้ เพราะสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ พวกเขาจักเจริญ
ด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อพวกเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วย
วรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุขัย 10 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 20 ปี
ลำดับนั้น มนุษย์เหล่านั้นจักปรึกษากันอย่างนี้ว่า ‘พวกเราเจริญด้วยอายุบ้าง
เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ ทางที่ดี พวกเราควรทำ
กุศลธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอย่างไรบ้าง พวกเราควรงดเว้นจากอทินนาทาน
(การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้) ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติ
ผิดในกาม) ควรงดเว้นจากมุสาวาท(การพูดเท็จ) ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา(การพูด
ส่อเสียด) ควรงดเว้นจากผรุสวาจา(การพูดคำหยาบ) ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
(การพูดเพ้อเจ้อ) ควรละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ควรละพยาบาท
(ความคิดร้ายผู้อื่น) ควรละมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ควรละธรรม 3 ประการ คือ
อธัมมราคะ วิสมโลภะ และมิจฉาธรรม ทางที่ดี พวกเราควรเกื้อกูลมารดา ควร
เกื้อกูลบิดา ควรเกื้อกูลสมณะ ควรเกื้อกูลพราหมณ์ และควรประพฤติอ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้ ดังนี้ เขาเหล่านั้น
จักเกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ และประพฤติอ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้
เพราะสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ พวกเขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
วรรณะบ้าง เมื่อพวกเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์
ที่มีอายุขัย 20 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 40 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 40 ปี
จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 80 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 80 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้น
เป็น 160 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 160 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 320 ปี
บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 320 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 640 ปี บุตรของมนุษย์
ผู้มีอายุขัย 640 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย
2,000 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 4,000 ปี
จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 8,000 ปี จักมีอายุขัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :76 }