เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร] สมัยที่คนมีอายุขัย 10 ปี

พราหมณ์ และไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็จักได้รับการบูชาและได้รับ
การสรรเสริญ ภิกษุทั้งหลาย คนที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูล
พราหมณ์ และประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ได้รับการบูชาและได้รับการ
สรรเสริญในบัดนี้ ฉันใด ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่เกื้อกูล
มารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่ประพฤติอ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็จักได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญ ฉันนั้น
ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุขัย 10 ปี พวกเขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า
‘แม่’ ว่า ‘ป้า น้า’ ว่า ‘ป้าสะใภ้ น้าสะใภ้’ ว่า ‘ภรรยาของอาจารย์’ หรือว่า
‘ภรรยาของครู’ สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เป็นเสมือน แพะ แกะ ไก่
สุกร สุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น
ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี มนุษย์เหล่านั้นก็จักเกิดความอาฆาต1อย่าง
แรงกล้า ความพยาบาท2อย่างแรงกล้า ความคิดร้ายแห่งใจอย่างแรงกล้า ความคิด
จะฆ่ากันอย่างแรงกล้า มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตร
กับบิดาก็ดี พี่ชายน้องชายกับพี่สาวน้องสาวก็ดี พี่สาวน้องสาวกับพี่ชายน้องชายก็ดี
จักเกิดความอาฆาตอย่างแรงกล้า ความพยาบาทอย่างแรงกล้า ความคิดร้ายแห่ง
ใจอย่างแรงกล้า ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า ภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อ เห็น
เนื้อเข้า เกิดความอาฆาตอย่างแรงกล้า ความพยาบาทอย่างแรงกล้า ความคิดร้าย
แห่งใจอย่างแรงกล้า ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า ฉันใด ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมี
อายุขัย 10 ปี มนุษย์เหล่านั้นจักเกิดความอาฆาตอย่างแรงกล้า ความพยาบาท
อย่างแรงกล้า ความคิดร้ายแห่งใจอย่างแรงกล้า ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า
มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายน้อง

เชิงอรรถ :
1 ความอาฆาต หมายถึงความโกรธที่ทำให้ผูกใจเจ็บ (ที.ปา.อ. 103/39)
2 ความพยาบาท หมายถึงความโกรธที่ทำให้ประโยชน์สุขทั้งของตนทั้งของคนอื่นพินาศ (ที.ปา.อ. 103/39)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :74 }