เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเสื่อมแห่งอายุและวรรณะ เป็นต้น

ที่มีอายุขัย 5,000 ปี บางพวกก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ 2,500 ปี บางพวกก็มี
อายุขัยถอยลงเหลือ 2,000 ปี
[99] ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 2,500 ปี อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง
อยากได้ของของเขา) และพยาบาท(ความคิดร้าย) ก็แพร่หลาย เมื่ออภิชฌา และ
พยาบาทแพร่หลาย คนเหล่านั้นก็มีอายุเสื่อมถอยบ้าง มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง เมื่อ
พวกเขามีอายุเสื่อมถอยบ้าง มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุขัย
2,500 ปี ก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ 1,000 ปี
[100] ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 1,000 ปี มิจฉาทิฏฐิ(ความ
เห็นผิด) ก็แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิแพร่หลาย คนเหล่านั้นก็มีอายุเสื่อมถอยบ้าง
มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง เมื่อพวกเขามีอายุเสื่อมถอยบ้าง มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุขัย 1,000 ปี ก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ 500 ปี
[101] ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 500 ปี ธรรม 3 ประการ
คือ อธัมมราคะ1 วิสมโลภะ2 และมิจฉาธรรม3 ก็แพร่หลาย เมื่อธรรม 3 ประการ
แพร่หลาย คนเหล่านั้นก็มีอายุเสื่อมถอยบ้าง มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง เมื่อพวกเขา
มีอายุเสื่อมถอยบ้าง มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุขัย 500 ปี
บางพวกก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ 250 ปี บางพวกก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ 200 ปี
ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 250 ปี ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่เกื้อกูลมารดา
ความไม่เกื้อกูลบิดา ความไม่เกื้อกูลสมณะ ความไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และการไม่
ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็แพร่หลาย

เชิงอรรถ :
1 อธัมมราคะ แปลว่า ความกำหนัดที่ผิดธรรม หมายถึงความกำหนัดในบุคคลที่ไม่สมควรกำหนัด เช่น
แม่ พ่อ (ที.ปา.อ. 101/38)
2 วิสมโลภะ แปลว่า ความโลภจัด หมายถึงความโลภที่รุนแรงในฐานะแม้ที่ควรจะได้ (ที.ปา.อ. 101/38)
3 มิจฉาธรรม แปลว่า ความกำหนัดผิดธรรมชาติ หมายถึงความกำหนัดที่ชายมีต่อชาย และที่ผู้หญิงมีต่อ
ผู้หญิง (ที.ปา.อ. 101/38)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :72 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร] สมัยที่คนมีอายุขัย 10 ปี

[102] ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่
พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็แพร่หลาย เมื่อความขัดสน
แพร่หลาย อทินนาทานก็แพร่หลาย เมื่ออทินนาทานแพร่หลาย ศัสตราก็แพร่หลาย
เมื่อศัสตราแพร่หลาย ปาณาติบาตก็แพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตแพร่หลาย มุสาวาท
ก็แพร่หลาย เมื่อมุสาวาทแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็แพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาแพร่
หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารแพร่หลาย ธรรม 2
ประการ คือ ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะก็แพร่หลาย เมื่อธรรม 2 ประการ
แพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาทก็แพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทแพร่หลาย
มิจฉาทิฏฐิก็แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิแพร่หลาย ธรรม 3 ประการ คือ อธัมมราคะ
วิสมโลภะ และมิจฉาธรรมก็แพร่หลาย เมื่อธรรม 3 ประการแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้
คือ ความไม่เกื้อกูลมารดา ความไม่เกื้อกูลบิดา ความไม่เกื้อกูลสมณะ ความไม่
เกื้อกูลพราหมณ์ และการไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลก็แพร่หลาย เมื่อ
ธรรมเหล่านี้แพร่หลาย คนเหล่านั้นก็มีอายุเสื่อมถอยบ้าง มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง
เมื่อพวกเขามีอายุเสื่อมถอยบ้าง มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุขัย
250 ปี ก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ 100 ปี

สมัยที่คนมีอายุขัย 10 ปี

[103] ภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มีบุตรของมนุษย์เหล่านี้มีอายุขัย 10 ปี
ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี เด็กหญิงอายุ 5 ปี ก็มีสามีได้ ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย
10 ปี รสเหล่านี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธาน
ไปสิ้น ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี หญ้ากับแก้จักเป็นอาหารอย่างดี ภิกษุทั้งหลาย
ข้าวสาลี เนื้อ และข้าวสุก เป็นอาหารอย่างดีในบัดนี้ ฉันใด ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย
10 ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้น
ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี กุศลกรรมบถ 10 จักอันตรธานไปหมดสิ้น
อกุศลกรรมบถ 10 จักเจริญรุ่งเรืองเหลือเกิน ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี แม้แต่
ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนที่ทำกุศลจักมีแต่ที่ไหน ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี
มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่เกื้อกูลมารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :73 }