เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเสื่อมแห่งอายุและวรรณะ เป็นต้น

ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่ทำให้มีผลสูงขึ้นไป1ที่เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล
ให้เกิดในสวรรค์2ด้วยทรัพย์นี้เถิด’
เขาได้ทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว
แม้บุรุษอีกคนหนึ่ง ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย คนทั้งหลาย
ช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงนำไปถวายแก่ท้าวเธอ กราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาท บุรุษนี้ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย’ เมื่อพวกเขากราบ
ทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสถามบุรุษนั้นว่า ‘พ่อคุณ ได้ยินว่า เธอถือเอาสิ่งของ
ที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมยจริงหรือ’
‘จริง พระเจ้าข้า’
‘เพราะเหตุไร’
‘เพราะข้าพระองค์ไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ’
ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขาแล้วรับสั่งว่า ‘พ่อคุณ เธอ
จงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย
จงตั้งทักษิณาในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ที่ทำให้มีผลสูงขึ้นไป เป็นไปเพื่อไห้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ด้วยทรัพย์นี้เถิด’
เขาทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว
[92] ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบ
ว่า คนถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย พระเจ้าแผ่นดินยังพระราช-
ทานทรัพย์ให้อีก’ จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี แม้พวกเราก็ควรถือเอาสิ่ง
ของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมยบ้าง’

เชิงอรรถ :
1 มีผลสูงขึ้นไป ในที่นี้หมายถึงส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นกามาวจร 6 คือ (1) จาตุมหาราช (2) ดาวดึงส์
(3) ยามา (4) ดุสิต (5) นิมมานรดี (6) ปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ปา.ฏีกา 91/36)
2 ให้เกิดในสวรรค์ในที่นี้หมายถึงให้ได้คุณวิเศษที่ล้ำเลิศ 10 อย่าง มีผิวพรรณทิพย์ เป็นต้น (ที.ปา.อ. 91/37)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :68 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเสื่อมแห่งอายุและวรรณะ เป็นต้น

ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย คนทั้งหลาย
ช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงนำไปถวายแก่ท้าวเธอ กราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาท บุรุษนี้ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย’ เมื่อพวกเขากราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสถามบุรุษนั้นว่า ‘พ่อคุณ ได้ทราบว่า เธอถือเอาสิ่งของ
ที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมยจริงหรือ’
‘จริง พระเจ้าข้า’
‘เพราะเหตุไร’
‘เพราะข้าพระองค์ไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ’
ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราจักให้ทรัพย์แก่คนที่ถือเอา
สิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย อทินนาทาน (การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
ไม่ได้ให้)นี้ จักแพร่หลายขึ้นด้วยประการอย่างนี้ ทางที่ดี เราควรให้คุมตัวบุรุษผู้นี้
อย่างแข็งขัน แล้วตัดต้นคอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย’ จากนั้น ท้าวเธอทรงสั่งบังคับ
ราชบุรุษทั้งหลายว่า ‘แน่ะพนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงใช้เชือกเหนียว ๆ มัดบุรุษนี้
ไพล่หลังอย่างแน่นหนาแล้ว โกนผมนำตระเวนไปตามถนนและตรอก พร้อมกับ
แกว่งบัณเฑาะว์1เสียงดังน่ากลัวนำออกทางประตูด้านทิศใต้ จงคุมตัวอย่างแข็งขัน
ทำการประหารชีวิต ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสียทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร’ ราชบุรุษทั้งหลาย
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จึงใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนั้นเอาแขนไพล่หลังอย่างแน่น
หนาแล้ว โกนผมนำตระเวนไปตามถนนและตรอกพร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดัง
น่ากลัวนำออกทางประตูด้านทิศใต้ คุมตัวอย่างแข็งขัน ทำการประหารชีวิต ตัดศีรษะ
บุรุษนั้นทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร
[93] ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายได้ฟังว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทราบว่า
พระเจ้าแผ่นดินได้คุมตัวคนผู้ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมยอย่างแข็งขัน
ตัดต้นคอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย’ ครั้นได้ฟังแล้วจึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี

เชิงอรรถ :
1 บัณเฑาะว์ ในที่นี้หมายถึงกลองที่ใช้ตีให้สัญญาณเมื่อจะประหารนักโทษ (ที.ปา.อ. 92/37)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :69 }