เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร] การสารภาพผิดของปริพาชก

นิโครธ ด้วยประการอย่างนี้แล เพราะปรารถนาจะให้ท่านเป็นอันเตวาสิก เรา
จึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ ปรารถนาจะให้ท่านเคลื่อนจากอุทเทสจึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่
ปรารถนาจะให้ท่านเคลื่อนจากอาชีพ จึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ ปรารถนาจะให้ท่านกับ
อาจารย์ดำรงอยู่ในอกุศลธรรมและธรรมที่นับเนื่องในอกุศลธรรม จึงกล่าวอย่างนี้
ก็หาไม่ ปรารถนาจะให้ท่านกับอาจารย์ห่างจากกุศลธรรมและธรรมที่นับเนื่องใน
กุศลธรรม จึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่
นิโครธ เราแสดงธรรมเพื่อให้ละอกุศลธรรมที่ยังละไม่ได้ ที่เศร้าหมอง ที่สร้าง
ภพใหม่ ที่มีความกระวนกระวาย ที่มีทุกข์เป็นผล ที่เป็นปัจจัยแห่งความเกิด ความแก่
และความตายต่อ ๆ ไป ท่านทั้งหลายปฏิบัติตามธรรมแล้ว จักละธรรมเป็นเหตุให้
เศร้าหมอง1 ได้ ธรรมเป็นเหตุให้ผ่องแผ้ว2จักเจริญยิ่งขึ้น ท่านทั้งหลายจักรู้แจ้ง
ความบริบูรณ์แห่งปัญญา3และความไพบูลย์4ด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันทีเดียว”
[79] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นได้นั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา ตอบโต้ไม่ได้ คล้ายกับถูกมารดลใจ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริดังนี้ว่า “โมฆบุรุษเหล่านี้ทั้งหมด ถูกมาร
ใจบาปดลใจแล้ว จนไม่มีใครแม้สักคนหนึ่งที่คิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี พวกเราจัก
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อความรู้ทั่วถึงบ้างว่า ‘7 วันจักก่อผล
อะไรได้”
พระผู้มีพระภาคทรงบันลือสีหนาท5 ในอารามของปริพาชกของพระนาง
อุทุมพริกาแล้ว ทรงเหาะขึ้นสู่อากาศ ปรากฏพระองค์อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ ส่วน
สันธานคหบดีก็กลับเข้าไปกรุงราชคฤห์ในขณะนั้นเหมือนกัน

อุทุมพริกสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
การมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

3. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
การมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

[80] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ1 มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมป-
ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม
เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
1 มีตนเป็นเกาะ ในที่นี้หมายถึงทำตนให้พ้นจากห้วงน้ำ คือ โอฆะ 4 เหมือนกับเกาะกลางมหาสมุทรที่น้ำ
ท่วมไม่ถึง (ที.ม.อ. 165/150, ที.ม.ฏีกา 165/180) ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/165/111, สํ.ม. (แปล)
19/379/234

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :59 }