เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
การทำให้แจ้งที่สุดซึ่งพรหมจรรย์

ออกมาตามความเป็นจริง รับว่าจะสำรวมต่อไป วิธีนี้เป็นความเจริญในอริยวินัย
นิโครธ ก็เรากล่าวอย่างนี้ว่า
‘บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติตามธรรมที่สั่งสอน เพียง 7 ปี ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์
ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่แท้
นิโครธ 7 ปี จงยกไว้
บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติตามธรรมที่สั่งสอน เพียง 6 ปี ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์
ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่แท้
นิโครธ 6 ปีจงยกไว้
... เพียง 5 ปี ...
... เพียง 4 ปี ...
... เพียง 3 ปี ...
... เพียง 2 ปี ...
... เพียง 1 ปี ... นิโครธ 1 ปีจงยกไว้
บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติตามธรรมที่สั่งสอน เพียง 7 เดือน ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์
ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่แท้
นิโครธ 7 เดือนจงยกไว้ ...
... เพียง 6 เดือน...
... เพียง 5 เดือน...
... เพียง 4 เดือน...
... เพียง 3 เดือน...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :56 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร] การสารภาพผิดของปริพาชก

... เพียง 2 เดือน...
... เพียง 1 เดือน...
... เพียงครึ่งเดือน นิโครธ ครึ่งเดือนจงยกไว้
บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติตามธรรมที่สั่งสอน เพียง 7 วัน ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์
ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่แท้

การสารภาพผิดของปริพาชก

[78] นิโครธ บางทีท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้
เพราะปรารถนาจะให้เราเป็นอันเตวาสิก’ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ผู้ใดเป็น
อาจารย์ของท่าน ผู้นั้นก็จงเป็นอาจารย์ของท่านต่อไป
บางทีท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจาก
อุทเทส1 จึงตรัสอย่างนี้’ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น อุทเทสใดเป็นของท่าน
อุทเทสนั้นก็จงเป็นของท่านต่อไป
บางทีท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจาก
อาชีพ2 จึงตรัสอย่างนี้’ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น อาชีพใดเป็นของท่าน
อาชีพนั้นก็จงเป็นของท่านต่อไป
บางทีท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์
ตั้งอยู่ในอกุศลธรรมและธรรมที่นับเนื่องในอกุศลธรรม จึงตรัสอย่างนี้’ แต่ข้อนั้น
ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น อกุศลธรรมและธรรมที่นับเนื่องในอกุศลธรรม ก็จงเป็นของ
ท่านกับอาจารย์ต่อไป
บางทีท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์
ห่างจากกุศลธรรมและธรรมที่นับเนื่องในกุศลธรรม จึงตรัสอย่างนี้’ แต่ข้อนั้นท่าน
ไม่พึงเห็นอย่างนั้น กุศลธรรมและธรรมที่นับเนื่องในกุศลธรรม ก็จงเป็นของท่านกับ
อาจารย์ต่อไป

เชิงอรรถ :
1 อุทเทส ในที่นี้หมายถึงแบบแผนแห่งธรรม (ที.ปา.อ. 78/27, ที.ปา.ฏีกา 78/26)
2 อาชีพ ในที่นี้หมายถึงการดำรงชีพ (ที.ปา.อ. 78/27, ที.ปา.ฏีกา 78/26)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :57 }