เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
การทำให้แจ้งที่สุดซึ่งพรหมจรรย์

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์
และผู้เป็นปาจารย์พูดสืบกันมาว่า ‘พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีแล้ว
ในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นเสด็จมาพบปะสมาคมกันแล้ว มีพระสุรเสียง
ดังอื้ออึงอยู่ มักทรงสนทนาถึงดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร
ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ เหมือนข้าพระองค์กับ
อาจารย์พูดคุยกันในบัดนี้ก็หามิได้ พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย ทรงใช้สอยเสนาสนะ
เป็นป่าละเมาะ และป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการ
สัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น
เหมือนพระผู้มีพระภาคในบัดนี้”
“นิโครธ ท่านเป็นผู้รู้ เป็นคนแก่ ไม่ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคนั้น
เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงฝึกตนแล้ว
ทรงแสดงธรรมเพื่อการฝึกตน พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงสงบแล้ว ทรงแสดงธรรม
เพื่อความสงบ พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงข้ามโอฆะ1 4 ประการ ได้แล้ว ทรงแสดง
ธรรมเพื่อข้ามโอฆะ 4 ประการ พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงดับกิเลสได้แล้ว ทรงแสดง
ธรรมเพื่อความดับกิเลสได้”

การทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์

[77] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความผิดได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้โง่ เขลา
ไม่ฉลาด ซึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับทราบความ
ผิดของข้าพระองค์ตามความผิดเถิด เพื่อจะได้สำรวมต่อไป”
“นิโครธ เอาเถิด ความผิดได้ครอบงำท่านผู้โง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งได้กล่าวกับ
เราอย่างนี้ แต่เธอเห็นความผิดว่าเป็นความผิดแล้วสารภาพตามความเป็นจริง ดังนั้น
เราขอรับทราบความผิดนั้นของท่าน ก็ผู้ที่เห็นความผิดว่าเป็นความผิดแล้วสารภาพ

เชิงอรรถ :
1 โอฆะ หมายถึงกิเลสดุจน้ำท่วมพาผู้ตกไปให้พินาศ มี 4 ประการ คือ (1) กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)
(2) ภโวฆะ (โอฆะคือภพ) (3) ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) (4) อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) (ที.ปา.อ. 3/12/
221, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/196/418)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :55 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
การทำให้แจ้งที่สุดซึ่งพรหมจรรย์

ออกมาตามความเป็นจริง รับว่าจะสำรวมต่อไป วิธีนี้เป็นความเจริญในอริยวินัย
นิโครธ ก็เรากล่าวอย่างนี้ว่า
‘บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติตามธรรมที่สั่งสอน เพียง 7 ปี ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์
ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่แท้
นิโครธ 7 ปี จงยกไว้
บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติตามธรรมที่สั่งสอน เพียง 6 ปี ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์
ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่แท้
นิโครธ 6 ปีจงยกไว้
... เพียง 5 ปี ...
... เพียง 4 ปี ...
... เพียง 3 ปี ...
... เพียง 2 ปี ...
... เพียง 1 ปี ... นิโครธ 1 ปีจงยกไว้
บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติตามธรรมที่สั่งสอน เพียง 7 เดือน ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์
ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่แท้
นิโครธ 7 เดือนจงยกไว้ ...
... เพียง 6 เดือน...
... เพียง 5 เดือน...
... เพียง 4 เดือน...
... เพียง 3 เดือน...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :56 }