เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
คำสารภาพผิดของนิโครธปริพาชก

ที่สงัดเท่านั้น คหบดี ขอให้พระสมณโคดมมาสู่บริษัทนี้เถิด พวกเราจะผูกพระสมณ-
โคดมด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น เหวี่ยงให้หมุนเหมือนหม้อเปล่า ฉะนั้น’ ท่านนิโครธ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสด็จมาถึงที่นี่แล้ว พวกท่าน
จงทำให้พระองค์ไม่กล้าเสด็จเข้ามาสู่บริษัท จงทำให้เป็นเหมือนโคตาบอดเดิน
วนเวียน จงผูกพระองค์ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น จงเหวี่ยงพระองค์ให้หมุนเหมือน
หม้อเปล่าเถิด”
เมื่อสันธานคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกนั่งนิ่ง เก้อเขิน1 คอตก
ก้มหน้า ซบเซา ตอบโต้ไม่ได้
[76] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นิโครธปริพาชกนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอ
ตก ก้มหน้า ซบเซา ตอบโต้ไม่ได้ จึงตรัสกับนิโครธปริพาชกดังนี้ว่า “นิโครธ ท่าน
กล่าววาจานี้จริงหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าววาจานี้จริง เพราะความเป็นคนโง่
เขลา ไม่ฉลาด”
“นิโครธ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ท่านเคยได้ยินปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘พระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นเสด็จมาพบปะ
สมาคมกันแล้ว มีพระสุรเสียงดังอื้ออึงอยู่ มักทรงสนทนาถึงดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ
เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ
เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ
เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ
เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด
เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ เหมือน
ท่านกับอาจารย์พูดคุยกันในบัดนี้หรือ หรือว่าท่านเคยได้ยินมาอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคเหล่านั้นทรงใช้สอยเสนาสนะ เป็นป่าละเมาะ และป่าทึบ อันสงัด มีเสียง
เบา มีเสียงเอ็ดอึงน้อย ปราศจากเสียงพูดของคนที่สัญจร เป็นสถานที่ควรทำ
เรื่องลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น เหมือนเราผู้ปฏิบัติอยู่ในบัดนี้”

เชิงอรรถ :
1 เก้อเขิน ในที่นี้หมายถึงหมดอำนาจ หมดฤทธิ์เดช (ที.ปา.อ. 75/26)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :54 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
การทำให้แจ้งที่สุดซึ่งพรหมจรรย์

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์
และผู้เป็นปาจารย์พูดสืบกันมาว่า ‘พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีแล้ว
ในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นเสด็จมาพบปะสมาคมกันแล้ว มีพระสุรเสียง
ดังอื้ออึงอยู่ มักทรงสนทนาถึงดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร
ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ เหมือนข้าพระองค์กับ
อาจารย์พูดคุยกันในบัดนี้ก็หามิได้ พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย ทรงใช้สอยเสนาสนะ
เป็นป่าละเมาะ และป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการ
สัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น
เหมือนพระผู้มีพระภาคในบัดนี้”
“นิโครธ ท่านเป็นผู้รู้ เป็นคนแก่ ไม่ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคนั้น
เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงฝึกตนแล้ว
ทรงแสดงธรรมเพื่อการฝึกตน พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงสงบแล้ว ทรงแสดงธรรม
เพื่อความสงบ พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงข้ามโอฆะ1 4 ประการ ได้แล้ว ทรงแสดง
ธรรมเพื่อข้ามโอฆะ 4 ประการ พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงดับกิเลสได้แล้ว ทรงแสดง
ธรรมเพื่อความดับกิเลสได้”

การทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์

[77] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความผิดได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้โง่ เขลา
ไม่ฉลาด ซึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับทราบความ
ผิดของข้าพระองค์ตามความผิดเถิด เพื่อจะได้สำรวมต่อไป”
“นิโครธ เอาเถิด ความผิดได้ครอบงำท่านผู้โง่ เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งได้กล่าวกับ
เราอย่างนี้ แต่เธอเห็นความผิดว่าเป็นความผิดแล้วสารภาพตามความเป็นจริง ดังนั้น
เราขอรับทราบความผิดนั้นของท่าน ก็ผู้ที่เห็นความผิดว่าเป็นความผิดแล้วสารภาพ

เชิงอรรถ :
1 โอฆะ หมายถึงกิเลสดุจน้ำท่วมพาผู้ตกไปให้พินาศ มี 4 ประการ คือ (1) กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)
(2) ภโวฆะ (โอฆะคือภพ) (3) ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) (4) อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) (ที.ปา.อ. 3/12/
221, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/196/418)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :55 }