เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงสะเก็ด

10. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นผู้กำลังได้รับ
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาในตระกูลทั้งหลาย เขาไม่ดำริ
อย่างนี้ว่า ‘ในตระกูลทั้งหลาย คนทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา สมณะหรือพราหมณ์ชื่อนี้ผู้เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุหลาย
อย่าง แต่ในตระกูลทั้งหลายไม่มีใครสักการะ ไม่มีใครเคารพ
ไม่มีใครนับถือ ไม่มีใครบูชาเราผู้บำเพ็ญตบะซึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุ
เศร้าหมอง’ เขาไม่ทำความริษยาและความตระหนี่ให้เกิดขึ้นในตระกูล
ทั้งหลาย ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
[68] 11. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่มีปกตินั่งในที่ที่คนเห็นได้ ข้อที่ ฯลฯ
เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
12. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ย่อมไม่เที่ยวอวดตนในตระกูลทั้งหลายว่า
‘การกระทำแม้นี้ก็มีในตบะของเรา การกระทำแม้นี้ก็มีในตบะของ
เรา’ ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
13. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ใช้ประโยชน์จากความผิดบางอย่างที่ปกปิดไว้
เมื่อถูกผู้อื่นถามว่า ‘สิ่งนี้ควรแก่ท่านหรือ’ จึงกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควร
ว่า ‘ไม่ควร’ กล่าวถึงสิ่งที่ควรว่า ‘ควร’ เขาไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ตัวอยู่
ด้วยประการฉะนี้ ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้น
อย่างนี้
14. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตกำลังแสดง
ธรรมอยู่ ย่อมคล้อยตามธรรมบรรยายที่ควรคล้อยตามอันมีอยู่
นั่นเทียว ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
[69] 15. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ข้อที่บุคคลผู้
บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ เขาชื่อว่าเป็นผู้
บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :46 }