เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงสะเก็ด

22. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละ
สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน
มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก นี้แลเป็นอุปกิเลสของ
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ
นิโครธ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร การกีดกันบาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็น
อุปกิเลส หรือไม่เป็นอุปกิเลส”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การกีดกันบาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่นอน
ไม่ใช่ไม่เป็นอุปกิเลส ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย
อุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่าง เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงบุคคลผู้มี
อุปกิเลสเพียงบางข้อ”

เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงสะเก็ด

[64] “นิโครธ
1. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะในโลกนี้ ยึดมั่นตบะ เขามีใจไม่ยินดี ไม่มี
ความดำริอันบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่น
ตบะจนเป็นเหตุให้เขามีใจไม่ยินดี ไม่มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วย
ตบะนั้น เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
2. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วย
ตบะนั้น ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
3. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาไม่มัวเมา ไม่หลงใหล ไม่ถึง
ความประมาทด้วยตบะนั้น ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วย
เหตุนั้นอย่างนี้
[65] 4. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขามีใจไม่ยินดี ไม่มีความดำริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :44 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงสะเก็ด

อันบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ข้อที่ ฯลฯ
เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
5. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยลาภ
สักการะและความสรรเสริญนั้น ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
6. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่มัวเมา ไม่หลงใหล ไม่ถึง
ความประมาทด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ข้อที่ ฯลฯ
เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
[66] 7. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาไม่พิจารณาโภชนะทั้งหลาย
เป็น 2 ส่วน ว่า ‘สิ่งนี้เราชอบ สิ่งนี้เราไม่ชอบ’ สิ่งใดที่เขาไม่ชอบ
เขาก็ไม่อยากทิ้งสิ่งนั้น ส่วนสิ่งที่เขาชอบ เขาก็ไม่พัวพัน ไม่ยินดี
ไม่หลงใหล ไม่ยึดติดสิ่งนั้น เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก
บริโภคอยู่ ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
8. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ยึดมั่นตบะ เพราะเหตุแห่งความอยากได้
ลาภสักการะและความสรรเสริญ ด้วยคิดว่า ‘พระราชา มหาอำมาตย์
ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ จักสักการะ
เรา’ ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
[67] 9. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ระรานสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ‘ก็ไฉน
ผู้นี้เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุหลายอย่าง กินไปหมดทุกอย่าง คือ พืช
เกิดจากเหง้า พืชเกิดจากลำต้น พืชเกิดจากตา พืชเกิดจากยอด
และพืชเกิดจากเมล็ดเป็นที่ห้า ปลายฟันของผู้นี้คมกริบประดุจสายฟ้า
คนทั้งหลายยังพากันเรียกว่าเป็นสมณะ’ ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็น
ผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :45 }