เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงสะเก็ด

22. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละ
สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน
มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก นี้แลเป็นอุปกิเลสของ
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ
นิโครธ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร การกีดกันบาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็น
อุปกิเลส หรือไม่เป็นอุปกิเลส”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การกีดกันบาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่นอน
ไม่ใช่ไม่เป็นอุปกิเลส ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย
อุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่าง เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงบุคคลผู้มี
อุปกิเลสเพียงบางข้อ”

เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงสะเก็ด

[64] “นิโครธ
1. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะในโลกนี้ ยึดมั่นตบะ เขามีใจไม่ยินดี ไม่มี
ความดำริอันบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่น
ตบะจนเป็นเหตุให้เขามีใจไม่ยินดี ไม่มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วย
ตบะนั้น เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
2. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วย
ตบะนั้น ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
3. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาไม่มัวเมา ไม่หลงใหล ไม่ถึง
ความประมาทด้วยตบะนั้น ข้อที่ ฯลฯ เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วย
เหตุนั้นอย่างนี้
[65] 4. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขามีใจไม่ยินดี ไม่มีความดำริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :44 }