เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ของผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
สังกัปปะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย
3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ของผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาวาจา
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย
4. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ของผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
กัมมันตะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย
5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ของผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
อาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย
6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ของผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
วายามะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย
7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ของผู้มีสัมมาสติ ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสติเป็น
ปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย
8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ของผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสมาธิ
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :436 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

9. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ของผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาญาณะ
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย
10. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) ของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
วิมุตติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 10 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อเสขธรรม1 10 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ2ที่เป็นอเสขะ
2. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
3. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ
4. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
5. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ
6. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
7. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ
8. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
9. สัมมาญาณะ3ที่เป็นอเสขะ
10. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ
นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 348 หน้า 365 ในเล่มนี้ และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/111/256
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 348 หน้า 365 ในเล่มนี้
3 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 348 หน้า 366 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :437 }