เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม)
4. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
7. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)
8. อนภิชฌา (ความไม่โลภอยากได้ของของเขา)
9. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
10. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

นี้ คือธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม 10 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ อริยวาส1 (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) 10 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ละองค์ 5 ได้
2. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 6
3. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
4. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) 4 ประการ
5. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้
6. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
7. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
8. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้
9. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
10. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 348 หน้า 363-365 ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) 24/19-20/38-42

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :432 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

ภิกษุเป็นผู้ละองค์ 5 ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้
ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ได้ เป็นผู้
ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ได้
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ 5 ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 6 เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 6 เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็น
ผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม 4 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง1 พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้
มีอปัสเสนธรรม 4 ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ2อันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ อันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 348 หน้า 364 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 348 หน้า 363 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :433 }