เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

5. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ...
6. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ...
7. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ...
8. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ...
9. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ...
10. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน
เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 10 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อายตนะ 10 ได้แก่

1. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
2. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
3. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
4. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
5. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
6. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
7. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
8. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
9. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
10. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ)

นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 10 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ มิจฉัตตะ1(ความเป็นธรรมที่ผิด) 10 ได้แก่

1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/132/282

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :430 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

4. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)
8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
9. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด)
10. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อกุศลกรรมบถ1(ทางแห่งอกุศลกรรม) 10 ได้แก่

1. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
2. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
3. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
4. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
5. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
6. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
7. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
8. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
9. พยาบาท (ความคิดร้าย)
10. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

นี้ คือธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ กุศลกรรมบถ2(ทางแห่งกุศลกรรม) 10 ได้แก่
1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
2. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 347 หน้า 362 ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) 24/178/330
2 ดูเทียบข้อ 347 หน้า 362-363 ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) 24/178/330-331

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :431 }