เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

4. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่
5. บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
6. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
7. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญ-
จัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
8. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนว-
สัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
9. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
นี้ คือธรรม 9 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 9 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อนุปุพพนิโรธ1 9 ได้แก่
1. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
2. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
3. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
4. ลมหายใจเข้าลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
5. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
6. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
ดับไป
7. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
ดับไป

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 344 หน้า 358 ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) 23/31/491

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :426 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

8. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ดับไป
9. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป
นี้ คือธรรม 9 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 90 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ธรรม 10 ประการ

[360] ธรรม 10 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 10 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 10 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 10 ประการที่ควรละ
ธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 10 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 10 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 10 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 10 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 10 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ นาถกรณธรรม1 (ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) 10 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายนี้เป็นนาถ-
กรณธรรม

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 345 หน้า 359-361 ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) 24/17/31-33

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :427 }