เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

(ฉ) ธรรม 9 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ นานัตตะ (สภาวะที่ต่างกัน) 9 ได้แก่
1. ความต่างกันแห่งธาตุ1
2. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งผัสสะ
จึงเกิดขึ้น
3. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ความต่างกันแห่งเวทนา
จึงเกิดขึ้น
4. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งสัญญา
จึงเกิดขึ้น
5. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งสัญญา ความต่างกันแห่งความ
ดำริจึงเกิดขึ้น
6. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความดำริ ความต่างกันแห่ง
ความพอใจจึงเกิดขึ้น
7. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความพอใจ ความต่างกันแห่ง
ความเร่าร้อนจึงเกิดขึ้น
8. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความเร่าร้อน ความต่างกันแห่ง
การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
9. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งการแสวงหา ความต่างกันแห่ง
การได้จึงเกิดขึ้น
นี้ คือธรรม 9 ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม 9 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัญญา2 9 ได้แก่
1. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็น
ธรรมดา)

เชิงอรรถ :
1 ธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุ 18 มีจักขุธาตุ เป็นต้น (ที.ปา.อ. 359/265)
2 ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) 23/16/465

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :424 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความปฏิกูลใน
อาหาร)
4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
5. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
6. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความ
ไม่เที่ยงแห่งสังขาร )
7. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน
ความเป็นทุกข์)
8. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป
ธรรมทั้งหลาย)
9. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียด
ประณีต)
นี้ คือธรรม 9 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 9 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อนุปุพพวิหาร1 9 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
2. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
3. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 343 หน้า 357 ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) 23/33/495

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :425 }