เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

2. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
3. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
4. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
5. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
6. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
7. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน
ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
8. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
9. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
นี้ คือธรรม 9 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :423 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

(ฉ) ธรรม 9 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ นานัตตะ (สภาวะที่ต่างกัน) 9 ได้แก่
1. ความต่างกันแห่งธาตุ1
2. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งผัสสะ
จึงเกิดขึ้น
3. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ความต่างกันแห่งเวทนา
จึงเกิดขึ้น
4. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งสัญญา
จึงเกิดขึ้น
5. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งสัญญา ความต่างกันแห่งความ
ดำริจึงเกิดขึ้น
6. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความดำริ ความต่างกันแห่ง
ความพอใจจึงเกิดขึ้น
7. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความพอใจ ความต่างกันแห่ง
ความเร่าร้อนจึงเกิดขึ้น
8. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความเร่าร้อน ความต่างกันแห่ง
การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
9. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งการแสวงหา ความต่างกันแห่ง
การได้จึงเกิดขึ้น
นี้ คือธรรม 9 ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม 9 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัญญา2 9 ได้แก่
1. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็น
ธรรมดา)

เชิงอรรถ :
1 ธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุ 18 มีจักขุธาตุ เป็นต้น (ที.ปา.อ. 359/265)
2 ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) 23/16/465

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :424 }