เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

4. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 4
5. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 5
6. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น
วิโมกข์ประการที่ 6
7. บุคคลล่วงอากิญจัญญายนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 7
8. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 8
นี้ คือธรรม 8 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 80 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ธรรม 9 ประการ

[359] ธรรม 9 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 9 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 9 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 9 ประการที่ควรละ
ธรรม 9 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 9 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 9 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 9 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 9 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 9 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 9 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล 9 ได้แก่
1. บุคคลมนสิการโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด
2. เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :418 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

3. เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
4. ผู้มีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
5. เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
6. เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
7. เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายได้เอง
8. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
9. เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
นี้ คือธรรม 9 ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม 9 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 9 ได้แก่
1. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือสีลวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งศีล)
2. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือจิตตวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งจิต)
3. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งทิฏฐิ)
4. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือกังขาวิตรณวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย)
5. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือมัคคามัคคญาณทัสสน-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง)
6. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน)
7. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือญาณทัสสนวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งญาณทัสสนะ)
8. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปัญญาวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งปัญญา)
9. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือวิมุตติวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งความหลุดพ้น)
นี้ คือธรรม 9 ประการที่ควรเจริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :419 }