เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

3. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน1 เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 3
4. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 4
5. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบ
เหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี
เขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมี
เนื้อละเอียดทั้ง 2 ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว
มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มี
สัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 5
6. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบ
เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง
มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี
อันมีเนื้อละเอียดทั้ง 2 ด้านที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วย
ของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญา
ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป
เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภาย
ตนะประการที่ 6

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 338 หน้า 349 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :416 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

7. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือน
ดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด
หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง 2
ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด
ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป
ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดง
เข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 7
8. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือน
ดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาว
เข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อ
ละเอียดทั้ง 2 ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสี
ขาวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย
ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 8
นี้ คือธรรม 8 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 8 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ วิโมกข์1 8 ได้แก่
1. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 1
2. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็น
วิโมกข์ประการที่ 2
3. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 3

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 339 หน้า 350 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :417 }