เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

(ช) ธรรม 8 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ความตรึกของมหาบุรุษ 8 ได้แก่
1. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก
2. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
3. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีใน
การคลุกคลี
4. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน
5. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงสติ
6. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจ
ไม่ตั้งมั่น
7. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม
8. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม1 ผู้พอใจใน
นิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม
ผู้พอใจในปปัญจธรรม
นี้ คือธรรม 8 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 8 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อภิภายตนะ2 8 ได้แก่
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาด เล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 1
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาด
ใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่าง
นี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 2

เชิงอรรถ :
1 นิปปปัญจธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง คือ มานะ ตัณหา และทิฏฐิ (ที.ปา.อ. 358/
264)
2ดูเทียบข้อ 338 หน้า 348-350 ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) 10/173/120, องฺ.ทสก. (แปล) 24/29/71

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :415 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

3. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน1 เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 3
4. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 4
5. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบ
เหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี
เขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมี
เนื้อละเอียดทั้ง 2 ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว
มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มี
สัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 5
6. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบ
เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง
มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี
อันมีเนื้อละเอียดทั้ง 2 ด้านที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วย
ของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญา
ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป
เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภาย
ตนะประการที่ 6

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 338 หน้า 349 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :416 }