เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

6. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี
และทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ
บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลกนี้’ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ 6
7. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมี
ปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ1 ไม่สามารถจะรู้เนื้อความ
แห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย
เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ 7
8. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
และไม่ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะ
กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และเป็นผู้มีปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็น
คนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็
เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ข้อที่ 8
นี้ คือธรรม 8 ประการที่แทงตลอดได้ยาก

เชิงอรรถ :
1 เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายไขความว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี
น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/112/48) หมายถึงใช้ปากพูดได้บ้าง พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. 3/225-231/223)
แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษาที่จะพูด
(วตฺตุ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) ท่านแยกอธิบายไว้ว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) มูโค
หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา : ฏีกา คาถา 734)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :414 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

(ช) ธรรม 8 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ความตรึกของมหาบุรุษ 8 ได้แก่
1. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก
2. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
3. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีใน
การคลุกคลี
4. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน
5. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงสติ
6. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจ
ไม่ตั้งมั่น
7. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม
8. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม1 ผู้พอใจใน
นิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม
ผู้พอใจในปปัญจธรรม
นี้ คือธรรม 8 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 8 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อภิภายตนะ2 8 ได้แก่
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาด เล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 1
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาด
ใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่าง
นี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 2

เชิงอรรถ :
1 นิปปปัญจธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง คือ มานะ ตัณหา และทิฏฐิ (ที.ปา.อ. 358/
264)
2ดูเทียบข้อ 338 หน้า 348-350 ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) 10/173/120, องฺ.ทสก. (แปล) 24/29/71

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :415 }