เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)
4. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)
8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

นี้ คือธรรม 8 ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม 8 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ กุสีตวัตถุ1 (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) 8 ได้แก่
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า
อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 1
2. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว
เมื่อเราทำงาน กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’
เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 2
3. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้อง
เดินทาง เมื่อเราเดินทาง กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 3

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 334 หน้า 341-342 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :408 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

4. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว
เมื่อเราเดินทาง กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’
เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 4
5. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้
โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ
กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 5
6. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ
เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กาย
ของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วราชมาส
ชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่
ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 6
7. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิด
มีอาพาธขึ้นเล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 7
8. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กาย
ของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน มีข้ออ้างที่จะนอนได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :409 }