เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

6. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 6 เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
7. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน1
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยประการที่ 7 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
8. ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5
อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความ
ดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญา
เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็น
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 8 เป็นไป
เพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
นี้ คือธรรม 8 ประการที่มีอุปการะมาก

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 331 หน้า 334 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :406 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

(ข) ธรรม 8 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ อริยมรรคมีองค์1 8 ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้ คือธรรม 8 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 8 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ โลกธรรม2 8 ได้แก่

1. ได้ลาภ 2. เสื่อมลาภ
3. ได้ยศ 4. เสื่อมยศ
5. นินทา 6. สรรเสริญ
7. สุข 8. ทุกข์

นี้ คือธรรม 8 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 8 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ มิจฉัตตธรรม3 (ธรรมที่ผิด) 8 ได้แก่
1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 333 หน้า 340 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 337 หน้า 348 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 333 หน้า 340 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :407 }