เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่เธอ
นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 2 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็ม
ที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
3. ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้รับความสงบเย็น 2 ประการคือ
(1) ความสงบเย็นทางกาย (2) ความสงบเย็นทางจิต นี้เป็น
เหตุเป็นปัจจัยประการที่ 3 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยก-
ปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
4. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์1 เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้
เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 4 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
5. เป็นพหูสูต ทรงสุตะสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
ดีด้วยทิฏฐิ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 5 เป็นไปเพื่อได้อาทิ-
พรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 สังวรในพระปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ=รักษา+โมกขะ = ความหลุด
พ้น) (วิสุทฺธิ. 1/14/17)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :405 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

6. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 6 เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
7. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน1
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยประการที่ 7 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
8. ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5
อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความ
ดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญา
เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็น
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 8 เป็นไป
เพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
นี้ คือธรรม 8 ประการที่มีอุปการะมาก

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 331 หน้า 334 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :406 }