เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

ธรรม 8 ประการ

[358] ธรรม 8 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 8 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 8 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 8 ประการที่ควรละ
ธรรม 8 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 8 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 8 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 8 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 8 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 8 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 8 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ เหตุ 8 ประการ ปัจจัย 8 ประการ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เหตุ 8 ประการ ปัจจัย 8 ประการ คืออะไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 1 เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
2. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ เธอเข้าไปหาท่านเหล่านั้นตามเวลาอันควร
สอบถามไต่สวนว่า “พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ
ของพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผย
ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย จะทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :404 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่เธอ
นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 2 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็ม
ที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
3. ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้รับความสงบเย็น 2 ประการคือ
(1) ความสงบเย็นทางกาย (2) ความสงบเย็นทางจิต นี้เป็น
เหตุเป็นปัจจัยประการที่ 3 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยก-
ปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
4. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์1 เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้
เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 4 เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
5. เป็นพหูสูต ทรงสุตะสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
ดีด้วยทิฏฐิ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 5 เป็นไปเพื่อได้อาทิ-
พรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 สังวรในพระปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ=รักษา+โมกขะ = ความหลุด
พ้น) (วิสุทฺธิ. 1/14/17)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :405 }