เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 7 ประการ

4. สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้
ข้อที่สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
5. อินทรีย์ 5 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อ
ที่อินทรีย์ 5 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็น
กำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้น
อาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
6. โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อ
ที่โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็
เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความ
สิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
7. อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญ
อบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ
อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเรา
สิ้นแล้ว”
นี้ คือธรรม 7 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 70 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ภาณวารที่ 1 จบ


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 8 ประการ

ธรรม 8 ประการ

[358] ธรรม 8 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 8 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 8 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 8 ประการที่ควรละ
ธรรม 8 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 8 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 8 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 8 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 8 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 8 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 8 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ เหตุ 8 ประการ ปัจจัย 8 ประการ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เหตุ 8 ประการ ปัจจัย 8 ประการ คืออะไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ 1 เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
2. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ เธอเข้าไปหาท่านเหล่านั้นตามเวลาอันควร
สอบถามไต่สวนว่า “พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ
ของพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผย
ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย จะทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :404 }