เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 7 ประการ

6. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเครื่องรักษาตน และ
ไม่ปราศจากความรักในสติปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไป
7. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดทิฏฐิ และไม่
ปราศจากความรักในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป
นี้ คือธรรม 7 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 7 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ กำลังของพระขีณาสพ 7 ได้แก่
1. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็น
ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
2. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุม
ถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กาม
ทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่าน
เพลิงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
3. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปในวิเวก โน้มไปใน
วิเวก โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ
ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปในวิเวก โน้ม
ไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ
ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :402 }