เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 7 ประการ

(จ) ธรรม 7 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ สัทธรรม1 7 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา
2. เป็นผู้มีหิริ
3. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
4. เป็นพหูสูต
5. เป็นผู้ปรารภความเพียร
6. เป็นผู้มีสติมั่นคง
7. เป็นผู้มีปัญญา
นี้ คือธรรม 7 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม 7 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ สัปปุริสธรรม2 7 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

1. เป็นธัมมัญญู (ผู้รู้จักเหตุ)
2. เป็นอัตถัญญู (ผู้รู้จักผล)
3. เป็นอัตตัญญู (ผู้รู้จักตน)
4. เป็นมัตตัญญู (ผู้รู้จักประมาณ)
5. เป็นกาลัญญู (ผู้รู้จักเวลา)
6. เป็นปริสัญญู (ผู้รู้จักชุมชน)
7. เป็นปุคคลัญญู (ผู้รู้จักบุคคล)

นี้ คือธรรม 7 ประการที่แทงตลอดได้ยาก

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 330 หน้า 332-333 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 330 หน้า 333 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :400 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 7 ประการ

(ช) ธรรม 7 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัญญา1 7 ได้แก่

1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
2. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
3. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
4. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายทุกข์โทษของกายอันมีความ
เจ็บไข้ต่าง ๆ)
5. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม
ทั้งหลาย)
6. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
7. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)

นี้ คือธรรม 7 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 7 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ นิททสวัตถุ2 7 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และไม่
ปราศจากความรัก3ในการสมาทานสิกขาต่อไป
2. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และไม่
ปราศจากความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
3. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก และไม่
ปราศจากความรักในการกำจัดความอยากต่อไป
4. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจาก
ความรักในการหลีกเร้นต่อไป
5. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่
ปราศจากความรักในการปรารภความเพียรต่อไป

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 331 หน้า 334 ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/42/63
2 ดูเทียบข้อ 331 หน้า 333-334 ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/624/189
3 ดูเชิงอรรถที่ 4 ข้อ 331 หน้า 333 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :401 }