เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
ว่าด้วยอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง)

นอนบนที่นอนอันทำด้วยหนาม นอนบนแผ่นกระดาน นอนบนเนินดิน นอนตะแคง
ข้างเดียว เอาฝุ่นคลุกตัว อยู่กลางแจ้ง นั่งบนอาสนะตามที่ปูลาดไว้ บริโภคคูถ คือ
ถือการบริโภคคูถ ไม่ดื่มน้ำเย็น คือถือการไม่ดื่มน้ำเย็น อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง คือ
ถือการลงอาบน้ำ
นิโครธ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นดังว่ามานี้ การกีดกันบาปด้วย
ตบะ เป็นลัทธิที่บริบูรณ์หรือไม่บริบูรณ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นดังว่ามานี้ การกีดกันบาปด้วยตบะ เป็นลัทธิ
ที่บริบูรณ์แน่นอน มิใช่ไม่บริบูรณ์”
“นิโครธ เรากล่าวว่าการกีดกันบาปด้วยตบะแม้ที่บริบูรณ์อย่างนี้ ก็ยังมีอุปกิเลส
อยู่เป็นอันมาก”

ว่าด้วยอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง)

[58] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าการ
กีดกันบาปด้วยตบะที่บริบูรณ์อย่างนี้ ก็ยังมีอุปกิเลสอยู่อีกเป็นอันมาก”
“นิโครธ
1. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะในโลกนี้ ยึดมั่นตบะ เขามีใจยินดี มีความดำริ
อันบริบูรณ์ด้วยตบะ1นั้น ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะจน
เป็นเหตุให้เขามีใจยินดี มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น นี้แล
เป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้บำเพ็ญตบะ
2. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น
ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะจนเป็นเหตุให้เขายกตนข่มผู้อื่น
ด้วยตบะนั้น นี้แลเป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้บำเพ็ญตบะ

เชิงอรรถ :
1 มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยตบะ ในที่นี้หมายถึงพอใจในการบำเพ็ญแต่ตบะเท่านั้น (ที.ปา.อ. 58/21)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :40 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
ว่าด้วยอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง)

3. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขามัวเมา1 หลงใหล ถึงความ
ประมาทด้วยตบะนั้น ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะจนเป็น
เหตุให้เขามัวเมา หลงใหล ถึงความประมาทด้วยตบะนั้น นี้แล
เป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้บำเพ็ญตบะ
[59] 4. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาทำลาภ2สักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขามีใจยินดี มีความดำริอัน
บริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ข้อที่บุคคลผู้
บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะจนเป็นเหตุทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้น เขามีใจยินดี มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยลาภ
สักการะและความสรรเสริญนั้น นี้แลเป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้
บำเพ็ญตบะ
5. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขายกตนข่มผู้อื่น ด้วยลาภ
สักการะและความสรรเสริญนั้น ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่น
ตบะจนเป็นเหตุทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เขา
ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น นี้แลเป็น
อุปกิเลสของบุคคลผู้บำเพ็ญตบะ
6. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะ เขาทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขามัวเมา หลงใหล ถึงความ
ประมาทด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ข้อที่บุคคลผู้
บำเพ็ญตบะ ยึดมั่นตบะจนเป็นเหตุทำลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้เกิดขึ้น เขามัวเมา หลงใหล ถึงความประมาทด้วย
ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น นี้แลเป็นอุปกิเลสของบุคคล
ผู้บำเพ็ญตบะ

เชิงอรรถ :
1 มัวเมา ในที่นี้หมายถึงมัวเมาเกิดจากมานะ (ที.ปา.อ. 58/21)
2 ลาภ ในที่นี้หมายถึงการได้ปัจจัย 4 ประการที่เขาเตรียมไว้เพื่อน้อมถวายคือ (1) ผ้านุ่งห่ม (2) อาหาร
(3) ที่อยู่อาศัย (4) ยารักษาโรค (ที.ปา.อ. 59/21)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :41 }