เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 7 ประการ

ธรรม 7 ประการ

[357] ธรรม 7 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 7 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 7 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 7 ประการที่ควรละ
ธรรม 7 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 7 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 7 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 7 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 7 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 7 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 7 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ อริยทรัพย์1 7 ได้แก่

1. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
2. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
3. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ)
4. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
5. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
6. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
7. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)

นี้ คือธรรม 7 ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม 7 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สัมโพชฌงค์2 7 ได้แก่
1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความ
เฟ้นธรรม)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 330 หน้า 331 ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/5/8
2 ดูเทียบข้อ 330 หน้า 331 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :397 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 7 ประการ

5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบ
กายสงบใจ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้ง
จิตมั่น)
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ
เป็นกลาง)
นี้ คือธรรม 7 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 7 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ วิญญาณฐิติ1 7 ได้แก่
1. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์
เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 1
2. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ
พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน
ปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 2
3. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ
พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 3
4. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้
เป็นวิญญาณฐิติที่ 4
5. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
“อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณ-
ฐิติที่ 5
6. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุด
มิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 6

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 332 หน้า 335-336 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :398 }