เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

นั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข
ทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้
5. ภิกษุนั้นเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระ
อริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง
จุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
6. ภิกษุนั้นทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 60 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :396 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 7 ประการ

ธรรม 7 ประการ

[357] ธรรม 7 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 7 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 7 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 7 ประการที่ควรละ
ธรรม 7 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 7 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 7 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 7 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 7 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 7 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 7 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ อริยทรัพย์1 7 ได้แก่

1. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
2. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
3. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ)
4. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
5. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
6. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
7. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)

นี้ คือธรรม 7 ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม 7 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สัมโพชฌงค์2 7 ได้แก่
1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความ
เฟ้นธรรม)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 330 หน้า 331 ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/5/8
2 ดูเทียบข้อ 330 หน้า 331 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :397 }