เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

5. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
อนิมิตตาเจโตวิมุตติ1แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณของข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึง
กล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัส
อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญอนิมิตตา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณ
ของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ
อนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
6. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจาก
อัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศร
คือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’
แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’
ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ2นี้เป็น
ธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย’
นี้ คือธรรม 6 ประการที่แทงตลอดได้ยาก

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 326 หน้า 327 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 326 หน้า 328 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :393 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

(ช) ธรรม 6 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สตตวิหารธรรม1 (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ) 6 ได้แก่
1. เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มี
สติสัมปชัญญะอยู่
2. ฟังเสียงทางหู ...
3. ดมกลิ่นทางจมูก ...
4. ลิ้มรสทางลิ้น ...
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
6. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่
นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 6 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อนุตตริยะ2 (ยอดเยี่ยม) 6 ได้แก่

1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 6 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อภิญญา 6 ได้แก่
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดง
ให้ปรากฏ หรือแสดงให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขา

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 328 หน้า 329 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 327 หน้า 328 ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/8/419-420

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :394 }