เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

(ง) ธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อคารวะ1 6 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
2. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
3. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์
4. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
6. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ คารวะ2 6 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา
2. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม
3. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์
4. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
6. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 324 หน้า 319 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 324 หน้า 319 ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/32/478

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :390 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

(ฉ) ธรรม 6 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ ธาตุที่สลัด1 6 ได้แก่
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติ2แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่พยาบาท (ความคิดร้าย) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน
แล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไป
ไม่ได้เลย เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
2. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
กรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิหิงสา (ความเบียดเบียน) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 325 หน้า 325 ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/13/429-431
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 326 หน้า 325 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :391 }