เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

4. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
5. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
6. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา)
นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 6 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อายตนะภายใน1 6 ได้แก่

1. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
2. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
3. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
4. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
5. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
6. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)

นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 6 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ หมวดตัณหา2 6 ได้แก่

1. รูปตัณหา (ความอยากได้รูป)
2. สัททตัณหา (ความอยากได้เสียง)
3. คันธตัณหา (ความอยากได้กลิ่น)
4. รสตัณหา (ความอยากได้รส)
5. โผฏฐัพพตัณหา (ความอยากได้โผฏฐัพพะ)
6. ธัมมตัณหา (ความอยากได้ธรรมารมณ์)

นี้ คือธรรม 6 ประการที่ควรละ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 323 หน้า 315 ในเล่มนี้, สํ.นิ. (แปล) 16/2/6
2 ดูเทียบข้อ 323 หน้า 318 ในเล่มนี้, อภิ.วิ. (แปล) 35/944/600

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :389 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 6 ประการ

(ง) ธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อคารวะ1 6 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
2. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
3. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์
4. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
6. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ คารวะ2 6 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา
2. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม
3. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์
4. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
6. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม 6 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 324 หน้า 319 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 324 หน้า 319 ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/32/478

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :390 }